โรงเรียนบ้านมัดกานกทาขุมปูน เดิมชื่อ “โรงเรียนบ้านมัดกา” ก่อนก่อตั้งโรงเรียนบ้านมัดกา
บุตรหลานชาวบ้านมัดกาต้องเดินเท้าไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านหนองเชียงทูน เป็นระยะทางไกล
และยากลำบาก ต่อมารัฐบาล จึงก่อตั้งโรงเรียนนามว่า “โรงเรียนบ้านมัดกา” ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ของจังหวัดศรีสะเกษ
(ปพค.ศก.) บริจาควัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก สังกะสี ตะปู ประตู หน้าต่าง หิน ปูน ทราย และตัวไม้ คิดเป็นจำนวนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท ชาวบ้านมัดกาได้เสียสละไม้แปรรูป ตลอดทั้งแรงงานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จคิดเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๒๕,๐๐๐ บาท โดยมี นายสฤทธิ์ ผาสุก ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองเชียงทูน เป็นผู้ดำเนินการและประสานงานการก่อสร้างจนสำเร็จ โรงเรียนอยู่ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีนายกำเกิง สุรการ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อเริ่มแรกก่อตั้งโรงเรียนมีครู ๒ คน คือ นายสุเมธ ศรียงยศ ตำแหน่งครูโรงเรียนบ้านบ่อ มาดำรงตำแหน่งครูและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และนายสมอ นิยมวัน ดำรงตำแหน่งครู มีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๒๓ คน เป็นชาย ๕๖ คน และหญิง ๖๗ คน โดยใช้ศาลาวัดบ้านมัดกาเป็นสถานที่เรียน และมีพระอธิการสิงห์ สุจิณโน
เจ้าอาวาสวัดบ้านมัดกา เป็นผู้ช่วยเหลือดูแล ในขณะนั้นโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๐๓ ในระยะเริ่มแรก กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๔ จึงได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนในที่ดินที่ตั้งโรงเรียน ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ดินที่ประชาชนร่วมกันจับจองและสงวนไว้ จำนวน ๖๑ ไร่ และได้ย้ายนักเรียนจากศาลาวัดบ้านมัดกา มาเรียนในอาคารเรียนใหม่ตั้งแต่นั้นมา ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงศึกษาธิการ โดย
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการ ได้อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ “โรงเรียนบ้านมัดกา” เป็น “โรงเรียนบ้านมัดกานกทาขุมปูน” เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและเขตบริการของโรงเรียน มาจนถึงปัจจุบัน
โรงเรียนบ้านมัดกานกทาขุมปูน เดิมชื่อ “โรงเรียนบ้านมัดกา” ก่อนก่อตั้งโรงเรียนบ้านมัดกา
บุตรหลานชาวบ้านมัดกาต้องเดินเท้าไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านหนองเชียงทูน เป็นระยะทางไกล
และยากลำบาก ต่อมารัฐบาล จึงก่อตั้งโรงเรียนนามว่า “โรงเรียนบ้านมัดกา” ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ของจังหวัดศรีสะเกษ
(ปพค.ศก.) บริจาควัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก สังกะสี ตะปู ประตู หน้าต่าง หิน ปูน ทราย และตัวไม้ คิดเป็นจำนวนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท ชาวบ้านมัดกาได้เสียสละไม้แปรรูป ตลอดทั้งแรงงานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จคิดเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๒๕,๐๐๐ บาท โดยมี นายสฤทธิ์ ผาสุก ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองเชียงทูน เป็นผู้ดำเนินการและประสานงานการก่อสร้างจนสำเร็จ โรงเรียนอยู่ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีนายกำเกิง สุรการ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อเริ่มแรกก่อตั้งโรงเรียนมีครู ๒ คน คือ นายสุเมธ ศรียงยศ ตำแหน่งครูโรงเรียนบ้านบ่อ มาดำรงตำแหน่งครูและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และนายสมอ นิยมวัน ดำรงตำแหน่งครู มีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๒๓ คน เป็นชาย ๕๖ คน และหญิง ๖๗ คน โดยใช้ศาลาวัดบ้านมัดกาเป็นสถานที่เรียน และมีพระอธิการสิงห์ สุจิณโน
เจ้าอาวาสวัดบ้านมัดกา เป็นผู้ช่วยเหลือดูแล ในขณะนั้นโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๐๓ ในระยะเริ่มแรก กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๔ จึงได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนในที่ดินที่ตั้งโรงเรียน ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ดินที่ประชาชนร่วมกันจับจองและสงวนไว้ จำนวน ๖๑ ไร่ และได้ย้ายนักเรียนจากศาลาวัดบ้านมัดกา มาเรียนในอาคารเรียนใหม่ตั้งแต่นั้นมา ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงศึกษาธิการ โดย
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการ ได้อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ “โรงเรียนบ้านมัดกา” เป็น “โรงเรียนบ้านมัดกานกทาขุมปูน” เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและเขตบริการของโรงเรียน มาจนถึงปัจจุบัน
โรงเรียนบ้านมัดกานกทาขุมปูน เดิมชื่อ “โรงเรียนบ้านมัดกา” ก่อนก่อตั้งโรงเรียนบ้านมัดกา
บุตรหลานชาวบ้านมัดกาต้องเดินเท้าไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านหนองเชียงทูน เป็นระยะทางไกล
และยากลำบาก ต่อมารัฐบาล จึงก่อตั้งโรงเรียนนามว่า “โรงเรียนบ้านมัดกา” ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ของจังหวัดศรีสะเกษ
(ปพค.ศก.) บริจาควัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก สังกะสี ตะปู ประตู หน้าต่าง หิน ปูน ทราย และตัวไม้ คิดเป็นจำนวนเงิน ๑๕,๐๐๐ บาท ชาวบ้านมัดกาได้เสียสละไม้แปรรูป ตลอดทั้งแรงงานในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จคิดเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๒๕,๐๐๐ บาท โดยมี นายสฤทธิ์ ผาสุก ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองเชียงทูน เป็นผู้ดำเนินการและประสานงานการก่อสร้างจนสำเร็จ โรงเรียนอยู่ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีนายกำเกิง สุรการ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อเริ่มแรกก่อตั้งโรงเรียนมีครู ๒ คน คือ นายสุเมธ ศรียงยศ ตำแหน่งครูโรงเรียนบ้านบ่อ มาดำรงตำแหน่งครูและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และนายสมอ นิยมวัน ดำรงตำแหน่งครู มีนักเรียนทั้งสิ้น ๑๒๓ คน เป็นชาย ๕๖ คน และหญิง ๖๗ คน โดยใช้ศาลาวัดบ้านมัดกาเป็นสถานที่เรียน และมีพระอธิการสิงห์ สุจิณโน
เจ้าอาวาสวัดบ้านมัดกา เป็นผู้ช่วยเหลือดูแล ในขณะนั้นโรงเรียนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และใช้หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๕๐๓ ในระยะเริ่มแรก กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๔ จึงได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนในที่ดินที่ตั้งโรงเรียน ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ดินที่ประชาชนร่วมกันจับจองและสงวนไว้ จำนวน ๖๑ ไร่ และได้ย้ายนักเรียนจากศาลาวัดบ้านมัดกา มาเรียนในอาคารเรียนใหม่ตั้งแต่นั้นมา ต่อมา เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ กระทรวงศึกษาธิการ โดย
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการ ได้อนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ “โรงเรียนบ้านมัดกา” เป็น “โรงเรียนบ้านมัดกานกทาขุมปูน” เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและเขตบริการของโรงเรียน มาจนถึงปัจจุบัน